กันยายน 25, 2023

สาระเรื่องวิ่ง

ข่าววิ่ง ความรู้เรื่องวิ่ง เคล็ดลับเรื่องวิ่ง งานวิ่งที่น่าสนใจ

การวิ่งไล่กรดแลกติค หรือ Recovery run

1 min read
การวิ่งไล่กรดแลกติค หรือ Recovery run

การวิ่งไล่กรดแลกติค หรือ Recovery run

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการวิ่งนั้นเราจะดึงพลังงานจากอาหารที่เราทานเข้าไป ที่แปรรูปเป็น ไกลโคเจน สะสมไว้ที่ กล้ามเนื้อ และที่ ตับ เมื่อเราวิ่งกะสามารถดึงออกมาใช้ได้ทันที

เมื่อเราเริ่มวิ่งไปเรื่อย ๆ ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น หรือวิ่งเป็นระยะทางที่ยาว ๆ ไกล ๆ จนใช้ไกลโคเจนจนหมด จากที่ร่างกายออกกำลังกายในรูปแบบแอโรบิค ก็จะทำการปรับไปเป็นรูปแบบของ แอนาโรบิค

ทางด้าน กรดแลกติค นั้นถ้าเราออกกำลังกายให้อยู่ในระดับพอดี ๆ ในระดับแอโรบิค กรดชนิดนี้ จะถูกขับออกจากร่างกายได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ถ้าเมื่อใดที่เราเริ่มที่จะออกกำลังกายหนักไปจนแทบหายใจไม่ทัน  ร่างกายก็จะกำจัด กรดแลกติค ไม่ทันตามไปด้วยทำให้กรดชนิดนี้ไปสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ ตามกระแสเลือดรวมไปถึงตามข้อต่อกระดูกต่าง ๆ  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเมื่อยล้า ปวดเมื่อย ราวกับว่ารู้สึกบาดเจ็บไปเลย ซึ่งอาการนี้ภาษาที่นักวิ่งเรียกอีกอย่างก็การเป็นหนี้ออกซิเจนนั่นเอง

เมื่อมีอาการเช่นที่กล่าวมาเกิดขึ้นจะทำให้เรา เริ่มลดความเร็วลง ตะคริวก็จะเริ่มถามหา เมื่อผ่านไปสักพักเมื่อเราลดความเร็วลงจนรู้สึกผ่อนคลายขึ้น ร่างกายก็รับออกซิเจนมากขึ้น ก็ทำให้กรดแลกติคบางส่วนถูกกำจัดออกไป นั่นจึงทำให้เราสามารถวิ่งต่อไปได้นั่นเอง

เพื่อเป็นการช่วยลดการสะสดกรดแลคติกในร่างกายก่อนวิ่งนั้นก็ควรมีการวอร์มอัพ  ให้เพียงพอ และหลังวิ่งก็ควรยืดเหยียดคูลดาวน์ก็จะช่วยไล่กรดแลกติคได้เช่นกัน แต่ถ้าวันไหนวิ่งยาว ๆ หรือไปวิ่งระยะไกลมาก ๆ มาก ก็ควรจะต้องมีการ การวิ่งไล่กรดแลกติค หรือที่เรียกกันว่า Recovery run นั่นเอง การวิ่งไล่กรดนั้นบางคนถ้าแรงเหลืออาจจะจ๊อกต่อเบา ๆ หรือเดิน ประมาณ 45 นาที จนไปถึง 1 ชั่วโมง หรือถ้าใครไม่ไหว หากวิ่งตอนเช้าอาจไล่กรดตอนเย็น หรือในวันถัดไปก็ได้ โดยเป็นการเน้นวิ่ง หรือเดินเพื่อผ่อนคลายและไล่กรดนั่นแหละ

การไล่กรดแลกติคนั้นไม่จะเป็นต้อง Recovery run เพียงอย่างเดียว หากใครอยากเปลี่ยนบรรยากาศ หรือเพื่อไม่อยากให้กล้ามเนื้อช้ำจนเกิดอาการบาดเจ็บการ Recovery ด้วยวิธีอื่น อย่างเช่น การว่ายน้ำ หรือ การปั่นจักรยาน ชิล ๆ เบา ๆ สบายสบาย ก็ใช้ได้เหมือนกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่เราซ้อมวิ่งเป็นประจำ ระยะเวลาที่ร่างกายจะผลิดกรดแลคติกก็น้อยลงได้เช่นกัน

 

 

# บทความวิ่ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *