ไขข้อข้องใจ เรื่องปวดขากับการวิ่ง
1 min readไขข้อข้องใจ เรื่องปวดขากับการวิ่ง
สำหรับนักวิ่งมือใหม่ หรือแม้กระทั่งคนที่วิ่งเป็นประจำอาการที่จะพบเจอบ่อย ๆ ก็คือการปวดขา ไม่ขาจะเป็นต้นขา หน้าขา น้อง รวมไปถึงหน้าแข้ง และคงเลี่ยงไม่ได้เพราะเราใช้ขาเป็นอวัยวะหลักในการวิ่ง ซึ่งสาเหตุของการปวดขานั้นส่วนใหญ่มาจาก 3 สาเหตุ ส่วนจะมีอะไรกันบ้างมาดูกัน
การอยู่ท่าเดิมนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืนหรือนั่งส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ใช้กล้ามเนื้อขาหนักเกินไป จะพบได้มากในนักกีฬา หากปวดหลังจากออกกำลังกาย ก็เกิดจากการซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สึกหรอ และยังมีกรดค้างอยู่อย่างเช่นกรดแลคติก
หากปวดขาควรหยุดวิ่งไปเลยหรือไม่
เราควรจะออกไปวิ่ง แต่ให้วิ่งช้าลง หรือลดระยะทางลงมา หากเราหยุดไปเลยจะทำให้ของเสียที่ข้างอยู่ (กรดแลคติก) และเลือดที่ข้างในกล้ามเนื้อไม่ถูกขับออกมา เราจึงต้องจำเป็นออกไปวิ่งเพื่อให้ของเสียเหล่านั้นได้ไหลเวียนออกมาจากร่างกาย
ทายานวด หรือกินยาแก้ปวด
การทายานวดจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย จึงสามารถบรรเทาอาการปวดขาได้ แต่การทานยาแก้ปวดอาจจะช่วยให้หายปวดได้แต่ไม่ได้ให้ของเสียในกล้ามเนื้อถูกขับออก วิธีที่ดีที่สุดคือหนามยอกต้องเอาหนามบ่ง คือออกไปวิ่งแต่ให้ลดความหนักลง
ประคบร้อนหรือเย็น
ในกรณีที่รู้สึกปวดแบบฉับพลันขึ้นมาในระหว่าง หลังจากวิ่งเสร็จให้ประคบเย็บ จะช่วยให้กล้ามเนื้อกลับสู่ปกติได้เร็วขึ้น แต่หากเป็นการปวดเรื้อรังแบบเป็น ๆหาย ๆ ปวดไม่มาก แต่ไม่หายสักที่ ก็ควรจะหมั่นประคบร้อนเป็นประจำจะทำให้ดีขึ้น
การวอร์มอัพ และการยืดเหยียดคูลดาวน์ ช่วยได้หรือไม่
จริง ๆ แล้วการที่ปวดขาในระหว่างวิ่งนั้นมาจากการที่อบอุ่นร่างกาย หรือวอร์มอัพไม่เพียงพอ การอบอุ่นร่างกายนั้นทำให้กล้ามเนื้อขามีความพร้อมในการใช้งาน มีความคล่องแคล่วและยืดหยุ่นสูง ส่วนการยืดเหยียดหลังวิ่งเป็นการปรับสมดุลให้กับกล้ามเนื้อรวมยังเป็นการช่วยขับกรดแลคติกได้ดี ซึ่งสามารถช่วยในเรื่องปวดเมื่อยขาได้ดีเป็นอย่างมาก รวมไปถึงการเดินหรือจ๊อกเบา ๆ ต่ออีก3-5 นาทีหลังวิ่งก็ใช้ได้เหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ตามหากรู้สึกปวดขามาก ๆ ทำวิธีไหนก็ไม่หาย หรือมีอาการบวม ตึงผิดปกติ หากมีอาการเหล่านี้เกิน 72 ชั่วโมง ก็ควรไปหาหมอเพื่อหาคำแนะนำ หรือทำการรักษาจะดีที่สุด เพราะบางที่อาจจะเป็นเพราะกล้ามเนื้ออักเสบ หรือสาเหตุอาจจะมาจากกระดูก
ไขข้อข้องใจ เรื่องปวดขากับการวิ่ง
- Heart Rate Zone คืออะไร มาทำความเข้าใจกันง่าย ๆ
- นาฬิกา ฮาร์ทเรท แล้วมันเหมาะกับใคร
- นักวิ่งชายเจ้าของสถิติโลกวิ่ง 100 เมตร
- Suguru Osako ผู้ที่มีสไตล์การวิ่งที่ไม่เหมือนใคร