7 ความจริง เรื่องสุขภาพที่อาจจะเข้าใจผิด
1 min read7 ความจริง เรื่องสุขภาพที่อาจจะเข้าใจผิด
1. ดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรต่อวัน
เรื่องการดื่มน้ำ ให้เพียงพอ ในแต่ละวันนี้ เป็นเรื่องที่ถูกต้อง อย่างแน่นอน แต่จริง ๆ ไม่จำเป็นต้องดื่มถึง 2 ลิตร หรือ 8 แก้วต่อวัน มีการวิจัยพบว่าหากเราดื่มน้ำทุก ๆ ครั้งที่รู้สึกกระหายก้เพียงพอแล้วเพราะอาหารที่เราทานเข้าไปหลาย ๆ อย่างก็มีส่วนผสมของน้ำอยู่ เพียงแค่หมั่นสังเกตสีของปัสสาวะหากมีสีเข้มก็ให้ดื่มน้ำเพิ่มเข้าไปจนปัสสาวะมีสีที่ใส
2. กินไข่ไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ
การกินไข่มาก ๆ อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจถึงแม้ไข่จะมีโคเรสโตรอลที่สูง แต่หากเรากินวัน1-2 ฟองก็ไม่มีผลเสียใด ๆ แถม โอเมก้า3 ในไข่ยังมีประโยชน์ที่จะไปช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย
3. ใช้ลูกกลิ้งโรลออน เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
ความจริงในเรื่องนี้คือการใช้โรลออนผิวหนังใต้รักแร้สามารถดูซึมไปสะสมในเนื้อเยื่อของเต้านมได้ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าไม่มีสารอะไรที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้
4. การเป็นหวัดเกิดจากอากาศที่หนาวเย็น
มีคนจำนวนมากถูกปลูกฝังให้ชื่อว่าหากอากาศหนาวเย็นอาจจะส่งผลให้เป็นหวัดได้ แต่มีการศึกษากับผู้ชายที่สุขภาพแข็งแรงพบว่า หากอยู่ในที่ในอุณหภูมิต่ำวันละหลายชั่วโมง จะทำให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น และหากเก็บตัวอยู่แต่ในห้องจะทำให้ป่วยได้ง่าย
5. ต้องกินอาหารเสริมทุกวัน
มีโฆษณาจากหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ บอกว่าเราต้องกินอาหารเสริมทุกวัน เพื่อไปเพิ่มสารอาหารที่ขาดหายไป หรือสร้างเองไม่ได้ เรื่องนี้ถือว่าเป็นความจริงแต่โฆษณา ไม่ได้บอกเราว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไปมีสารอาหาร กรดอะมิโน และวิตามินต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากเราทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายอาหารเสริมก็ไม่ใช่เรื่องจำเป้น
6. หากน้ำน้ำมูกมีสีเขียวต้องทานยาฆ่าเชื้อ
อันนี้เป็นเรื่องจริง แต่ไม่เสมอไป เพราะหากเราเป็นหวัดธรรมดาน้ำมูกก็เป็นสีเขียวได้ เพราะการที่เราติดเชื้อแบคทีเรียที่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อ อาการนี้จะพบว่ามีน้ำมูกเขียงกว่าคนเป็นหวัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
7. โถชักโครกเชื้อโรคเยอะ
อย่าได้วิตกเรื่องของความสกปรกในการเข้าห้องน้ำสาธารณะ เพราะบริเวณที่เรานั่งของโถชักโครกจะมีความสะอาดมากกว่า ลูกบิดประตู พื้นห้องน้ำ ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค ดังนั้นหากจะจับลูกบิดประตู ควรใช้กระดาษเช็ดก่อน แล้วจึงไปล้างมือให้สะอาดอีกครั้ง
7 ความจริง เรื่องสุขภาพที่อาจจะเข้าใจผิด
- เราควรใช้ความเร็วขนาดไหนในการซ้อมวิ่งยาว (Long run)
- มาตรฐานเวลาในการวิ่ง ฮาล์ฟมาราธอนในเมืองไทย
- นักวิ่งสาว ๆ ต้องให้ความสำคัญ ก่อนเลือกสปอร์ตบรา
- อากาศร้อน กับ นักวิ่ง
.
.