กันยายน 26, 2023

สาระเรื่องวิ่ง

ข่าววิ่ง ความรู้เรื่องวิ่ง เคล็ดลับเรื่องวิ่ง งานวิ่งที่น่าสนใจ

โรครองช้ำคืออะไรและรักษาได้อย่างไร

1 min read
โรครองช้ำคืออะไรและรักษาได้อย่างไร

โรครองช้ำคืออะไรและรักษาได้อย่างไร

อาการรองช้ำหรือโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เกิดจากกการเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้าและให้แพทย์ทำการเอกซเรย์จะเจอหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าอีกด้วย ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะสาวๆ ที่มักเจ็บส้นเท้าในตอนเช้า บางครั้งก็เป็นๆหายๆ แลพอาการนี้มักลุกลามไปถึงเอ็นร้อยหวาย หากเป็นมานานและไปทำการรักษา และหากหรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการจะเรื้อรังมากขึ้น

 

อาการของโรครองช้ำ

โดยอาการของโรคมักจะมีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณส้นเท้ามาก ๆ ซึ่งอาจเกิดจาการที่เราวิ่ง เดิน หรือยืนเป็นเวลานาน ๆ แต่หากเป็นหนักมากขึ้น จะมีอาการปวดส้นเท้าตลอดเวลา ซึ่งจะทรมานมาก และอาการของโรคจะเห็นได้ตอนที่เราตื่นนอนในตอนเช้าและลุกขึ้นเดิน หรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ อาการนี้เกิดเนื่องมาจากการกระชากของเอ็นฝ่าเท้าที่อักเสบอย่างฉับพลัน แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งเอ็นฝ่าเท้าจะค่อย ๆ ยืดหยุ่นขึ้นมาเอง และอาการดังกล่าวจะลดลง

 

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรครองช้ำ

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรงรองช้ำหรือโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบก็คือทุกคนแหละแต่ส่วนมาก ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากไขมันบริเวณส้นเท้าจะบางกว่าผู้ชาย เอ็นและกล้ามเนื้อของน่องและฝ่าเท้าไม่แข็งแรงเท่า หรือผู้ที่วิ่งเป็นประจำก็มีโอกาสเป็นเนื่องจากใช้งานเท้าหนักนั้นเอง และอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงก็คือผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ต้องทำงานที่ยืนนาน ๆเป็นต้น

 

ปัจจัยเสี่ยงจากการวิ่งของโรครองช้ำ

  1. การวิ่งบนพื้นแข็ง หรือการเพิ่มระยะทางการเดิน วิ่งมากขึ้นจากเดิม
  2. การฝึกวิ่งที่หักโหมจนเกินไป หรือการวิ่งในระยะทางที่ไกลเกินไป
  3. น้ำหนักตัวมากเกินไป
  4. การใส่รองเท้าที่พื้นบางเกินไป
  5. อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป เท้าแบนเกินไป หรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่อง
  6. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือข้อสันหลังอักเสบ
  7. มีอาการเอ็นร้อยหวายยึด

การรักษาโรครองช้ำทำได้ด้วยตัวเองและให้แพทย์รักษาขึ้นอยู่กับว่ามีอาการรุณแรงแค่ไหน

  1. รักษาด้วยตัวเอง

– เลือกใช้รองเท้าวิ่งโดยเฉพาะ มีพื้นรองเท้าที่ออกแบบมาให้รองรับการกระแทกของส้นเท้า

– ควรลดน้ำหนักหรือเปลี่ยนไปออกกำลังชนิดอื่นที่ไม่มีการกระแทกบริเวณส้นเท้าก่อน เช่น การว่ายน้ำ หรือ ปั่นจักรยาน

– พยายามฝึกยืดพังผืดฝ่าเท้าเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น แต่ถ้าหากมีอาการตึงมาก ๆ ให้ แช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนทำการยืดประมาณ 15-20 นาที หรือฝึกยืดเอ็นร้อยหวายก็ช่วยได้เช่นกัน 

  1. การรักษาโดยแพทย์

– การฉีดสเตียรอยด์ ที่บริเวณที่มีอาการเจ็บหรืออักเสบ

– การทำ Extracorporeal Shock Wave Therapy หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก ซึ่งส่วนมากใช้ในกรณีที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาชนิดอื่น

– การผ่าตัดเป็นการรักษาขั้นสุดมักจะใช้กับคนที่มีอาการหนักมากๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยของแพทย์

 

 

#โรครองช้ำคืออะไรและรักษาได้อย่างไร #บทความวิ่ง  #สาระเรื่องวิ่ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *