16 ข้อปฏิบัติสำหรับ การวิ่ง วิถีใหม่ New Normal Run
1 min read
16 ข้อปฏิบัติสำหรับ การวิ่ง วิถีใหม่ New Normal Run
จากปัญหาเรื่องการเกิดโรคระบาดโควิด19 ทำให้รายการแข่งขันการวิ่งมาราธอนใหญ่ทั่วโลกได้ยกเลิกและเลื่อนการแข่งขันออกไปซี่งนับถึงปัจจุบันมีการยกเลิกไปแล้วถึง 6 รายการได้แก่รายการ ชิคาโก มาราธอน – นิวยอร์ก มาราธอน – บอสตัน มาราธอน และ เบอร์ลิน มาราธอน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะกลับมาเริ่มการจัดแข่งขันใหม่ประมาณเดือนมีนาคม ค.ศ.2021
สำหรับประเทศไทย ทางการกีฬาแห่งประเทศไทยและ กกท.ได้ร่วมกันออกข้อปฏิบัติทั้งหมด 16 ข้อเพื่อนำไปทดสอบการแข่งขันวิ่งตามแนวทางของการป้องกันโรคโควิด19 โดยหลังจากทดสอบการวิ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจอมบึง จังหวัดราชบุรีแล้ว ได้พบข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุ่งอยู่ในหลายส่วน ทั้งการเริ่มต้นปล่อยตัวต้องเพิ่มวิธีการเว้นระยะเวลาและการจัดกลุ่มนักวิ่งออกจากกัน หรือในการเข้าเส้นชัยควรจัดให้มีพื้นที่เพื่อให้นักวิ่งได้หายใจได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น
หลักการทั้ง 16 ข้อที่ต้องมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำส่งต่อให้ทางคณะทำงานชุดใหญ่ของ ศบค.พิจารณาก่อนออกเป็นประการใช้บังคับเกี่ยวกับรูปแบบและกฎเกณฑ์ในการจัดการแข่งขันวิ่งที่คาดว่าจะมีกำหนดการให้สามารถเริ่มการคลายล๊อคและทำการจัดการแข่งขันวิ่งได้ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 นี้
ข้อปฏิบัติทั้ง 16 ประการที่ทางการกีฬาแห่งประเทศไทยและ กกท.ร่วมกันนำมาทดสอบใช้ที่ผ่านมาได้แก่
- จำนวนผู้เข้าร่วมต้องสอดคล้องกับขนาดของพื้นที่
- ควรให้สิทธิ์ยกเลิกสำหรับผู้มีความเสี่ยง
- ควรมีประกันอุบัติเหตุ และ/หรือโควิด-19
- ควรรับรองตนเองไม่ให้ไปในพื้นที่เสี่ยง
- ควรมีใบรับรองแพทย์สำหรับผู้มีความเสี่ยง
- ควรปรับลดกิจกรรมรวมตัว
- ต้องลงทะเบียนเข้า-ออก ไทยชนะ
- ต้องมีสถานีคัดกรอง/จุดล้างมือ
- ต้องยืน-นั่งห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เมตร
- หน้ากากต้องเป็นอุปกรณ์บังคับทั้งกรรมการและนักกีฬา (ยกเว้นขณะวิ่ง)
- ควรปล่อยตัวเป็นกลุ่มย่อยเป็นช่วงเวลา
- ระวังความแออัดในสถานีน้ำ
- ควรกำหนดระเบียบและกฎกติกาการแข่งขัน
- จุดเริ่มต้นและเส้นทางการแข่งขันควรกว้างเพียงพอ
- ต้องทำความสะอาด ก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขัน
- ควรมีทะเบียนรายชื่อ และระบบติดตามผลหลังแข่งขัน
การทดสอบเพื่อใช้ข้อปฏิบัติจริงๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อความรับผิดชอบที่นักวิ่งและผู้จัดการจะให้ต่อสังคมได้ และยังดีกับตัวผู้เข้าร่วมการแข่งขันด้วย เพราะการวิ่งที่ดีต้องเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่การทำลายสุขภาพและแพร่กระจายเชื้อโรค